ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็น นักวิ่งระยะไกล โดยใช้แนวคิดภาวะสุขภาพขององค์การอนามัยโลกและการทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล คัดเลือกกลุ่มตัว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิภาวี ปุสวิโร, พรทิพย์ มาลาธรรม, อรพิชญา ไกรฤทธิ์, มุกดา เดชประพนธ์, Wipawee Pussawiro, Porntip Malathum, Suporn Wongvatunyu, Orapitchaya Krairit, Mukda Detprapon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48393
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็น นักวิ่งระยะไกล โดยใช้แนวคิดภาวะสุขภาพขององค์การอนามัยโลกและการทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดได้กลุ่ม ตัวอย่าง 140 ราย เป็นเพศชาย 123 ราย เพศหญิง 17 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 60-84 ปี อายุเฉลี่ย 66 ปี ระดับความดันโลหิตอยู่ ในเกณฑ์ปกติแต่เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง (prehypertension) มากที่สุดคือ ร้อยละ 41 เกือบครึ่ง (ร้อยละ 45.8) มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.4) มี ดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ และแรงเหยียดขาอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 70.7) 1 ใน 3 ของ กลุ่มตัวอย่างมีความอ่อนตัวอยู่ในระดับปานกลาง เกือบครึ่งหนึ่งมีความจุปอดอยู่ในระดับดีมาก ส่วนปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.6) อยู่ในระดับดีมาก และค่าความหนา แน่นของมวลกระดูกอยู่ในภาวะกระดูกโปร่งบางมากที่สุด (ร้อยละ 40.7) ในด้านการรับรู้ความ ผาสุกในชีวิตปัจจุบันที่วัดโดยแบบวัดแบบขั้นบันไดของแคนทริล พบว่า เกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่ม ตัวอย่างอยู่ในระดับดี และมากกว่าครึ่งรับรู้ว่าภาวะสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี ผลการ ศึกษาครั้งนี้จะทำให้บุคลากรด้านสุขภาพเข้าใจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล และ ใช้ข้อมูลนี้เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างเต็มศักยภาพ โดยเหมาะสม กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุแต่ละราย