การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมที่บูรณาการความรู้ด้านกายวิภาค สรีรวิทยา เพื่อส่งเสริมทักษะของนักศึกษาพยาบาลในการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ สำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยบูรณาการความรู้ ด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาเพื่อเพิ่มความเข้าใจ การคงอยู่ของความรู้ และทักษะปฏิบัติในการ ตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ ตามแนวคิดทฤษฎีปั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย, มุกดา เดชประพนธ์, ชาลิณีย์ โฆษิตทาภิวัธน์, พิณทิพ รื่นวงษา, ภิญโญ พานิชพันธ์, Chularuk Kaveevivitchai, Mukda Detprapon, Chalinee Kosittapiwat, Pintip Ruenwongsa, Bhinyo Panijpan
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48396
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมเรื่อง การตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ สำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยบูรณาการความรู้ ด้านกายวิภาค และสรีรวิทยาเพื่อเพิ่มความเข้าใจ การคงอยู่ของความรู้ และทักษะปฏิบัติในการ ตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและคอ ตามแนวคิดทฤษฎีปัญญานิยม ทฤษฎีแรงจูงใจของ เคลเลอร์ รูปแบบ เออาร์ซีเอส และทฤษฎีการเรียนรู้จากเงื่อนไขการกระทำของสกินเนอร์ ผ่านภาพ เคลื่อนไหวและการมีปฏิสัมพันธ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา พยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) ปีการศึกษา 2551 จำนวน 60 ราย สุ่มตัวอย่างแบบ ง่ายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มควบคุม 29 ราย และกลุ่มทดลอง 31 ราย ทั้งสองกลุ่ม ได้รับการสอนโดยวิธีบรรยายและสาธิต แต่กลุ่มทดลองได้เรียนเสริมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนสื่อประสม เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบสอบถามและการ สัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้และการปฏิบัติในคลินิกของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่คะแนนทักษะปฏิบัติการตรวจร่างกายผู้ใหญ่: การตรวจศีรษะและ คอของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง อาจารย์พยาบาลจำนวน 5 ราย และนักศึกษากลุ่มทดลองจำนวน 10 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมี ความคิดเห็นต่อการใช้บทเรียนช่วยสอนในทางบวกโดยคิดว่าเป็นสื่อที่มีประโยชน์และใช้ง่าย ดังนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสื่อประสมสามารถนำไปใช้สอนเสริมเพื่อเพิ่มทักษะในการ ตรวจร่างกาย