การรับรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดและพฤติกรรมการดูแลตนเองของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดและ พฤติกรรมการดูแลตนเองของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับแนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยของไคล์นแมน และคณะเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกกล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รัตติกาล เรืองฤทธิ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, วรรณภา ประไพพานิช, Rattikarn Roungrit, Porntip Malathum, Wonnapha Prapaipanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48445
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดและ พฤติกรรมการดูแลตนเองของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มร่วมกับแนวคิดการอธิบายความเจ็บป่วยของไคล์นแมน และคณะเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นชาวไทยมุสลิม ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลปัตตานี จำนวน 52 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ประมาณ 3 ใน 4 ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนได้เต็มเดือน และรับรู้ว่าการถือศีลอดไม่มีความเสี่ยง แต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและได้บุญ โดยประเมินความเสี่ยงหรือประโยชน์ของการถือศีลอด จากการได้รับข้อมูลและประสบการณ์เดิม และประเมินความสามารถในการถือศีลอดจากสุขภาพ โดยรวมหรืออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานอาหาร 2 มื้อ ได้แก่ มื้อสะฮูร (มื้อเช้า) และมื้อเปิดบวช (มื้อเย็น) ร่วมกับอาหารว่างก่อนนอน โดยรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มรสหวานเพิ่มขึ้นและดื่มนํ้าน้อยลง ส่วนใหญ่รับประทานยามื้อเช้าช่วงอาหารมื้อสะฮูร ยามื้อเย็นช่วงอาหารมื้อเปิดบวชและงดยามื้อเที่ยง โดยทุกรายใช้ชนิดและขนาดยาเหมือนช่วงปกติ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพใกล้เคียงช่วงปกติ แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันในการประกอบ ศาสนกิจและหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก กลุ่มตัวอย่างดูแลความสะอาดร่างกายไม่แตกต่าง จากช่วงปกติ ส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการมาตรวจตามแพทย์นัดเพราะเชื่อว่าการเจาะเลือดทำให้เสียศีลอด หรือการเดินทางทำให้รู้สึกเพลียมากขึ้น และพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการของ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะถือศีลอด ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างไม่ทราบวิธีประเมินอาการ และการจัดการภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ผลงานวิจัยครั้งนี้ ทำให้เข้าใจการรับรู้เกี่ยวกับการ ถือศีลอดและพฤติกรรมการดูแลตนเองในช่วงการถือศีลอดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และ สามารถนำไปวางแผนการดูแลให้สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา และแบบแผนการดำเนินชีวิต ตามบริบททางสังคมของชาวไทยมุสลิมที่เป็นเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น