ผลของโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกสำหรับผู้ป่วยระบบประสาท

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันอาการ ท้องผูกต่ออัตราการเกิดท้องผูก และความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้ป่วยระบบประสาท โดยใช้ หลักการทางสรีรวิทยาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่รับไว้ดูแลใน แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วาสนา บุตรปัญญา, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ศุภร วงศ์วทัญญู, ภาณุมาศ ขวัญเรือน, Wasana Budpanya, Panwadee Putwatana, Suporn Wongvatunyu, Panumas Khwanruean
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48449
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันอาการ ท้องผูกต่ออัตราการเกิดท้องผูก และความรุนแรงของอาการท้องผูกในผู้ป่วยระบบประสาท โดยใช้ หลักการทางสรีรวิทยาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่รับไว้ดูแลใน แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลแพร่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2553 คัดเลือกแบบ เจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดคือ เป็นผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทาง ระบบประสาท อยู่ในระยะฟื้นฟู สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางส่วนหรือไม่สามารถช่วยเหลือ ตนเองได้เลย ได้รับอาหารเหลวทางสายให้อาหารหรือรับประทานอาหารทางปาก ไม่อยู่ในระยะ ที่ต้องจำกัดน้าํ ไม่เป็นผู้ที่มีอาการท้องผูกที่ทราบสาเหตุว่าเป็นผลจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ผู้ป่วยและญาติยินดีเข้าร่วมการวิจัย แบ่งกลุ่มตามลำดับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูก กลุ่มละ 40 ราย โปรแกรมประกอบด้วย การให้ข้อมูล การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ อาหาร นํ้า ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายและการนวดหน้าท้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ สถิติที สถิติแมนวิทนีย์ กำหนดนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าในช่วงเริ่มต้นการศึกษา ผู้ป่วยระบบประสาทในกลุ่มทดลองมีข้อมูล ส่วนบุคคลไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ ท้องผูกและมีประวัติการได้รับยาที่อาจมีผลต่ออาการท้องผูกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ภายหลังได้รับโปรแกรมป้องกันอาการท้องผูกพบว่ากลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดอาการ ท้องผูกและระดับความรุนแรงของการเกิดอาการท้องผูกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์แยกตามกลุ่มความเสี่ยงต่ออาการท้องผูก พบว่า เฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ปานกลาง กลุ่มทดลองมีอัตราการเกิดอาการท้องผูกและความรุนแรงของการเกิดอาการท้องผูก น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น โปรแกรมป้องกันการเกิดอาการท้องผูก จึงสมควรนำไปใช้ในการกำหนดแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระบบประสาท เพื่อความสุขสบาย และส่งเสริมการฟื้นหายของผู้ป่วยต่อไป