ผลของโปรแกรมส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของนักเรียนที่มี ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการดีขึ้นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการอ่าน ฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6 โรงเรียนแห...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: บุษรัตน์ พุฒวิชัยดิษฐ์, นพวรรณ เปียซื่อ, Busarat Puttavichaidit, Noppawan Piaseu
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48457
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของนักเรียนที่มี ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการดีขึ้นหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการอ่าน ฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี เลือกตัวอย่างแบบ เฉพาะเจาะจง จำนวน 72 ราย สุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 36 ราย ในระยะก่อน ทดลองและหลังทดลอง 2 สัปดาห์ นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเองเกี่ยวกับฉลากโภชนาการ ในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการ กลุ่มทดลองได้รับการสอนสุขศึกษา เรื่องฉลากโภชนาการ โดยใช้คู่มือการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ตัวอย่าง อาหาร การสาธิตและสาธิตกลับ การเยี่ยมชมร้านค้าและเกมส์ฉลาดซื้อ ในขณะที่กลุ่มควบคุม ได้รับคู่มือการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยายและสถิติ Z–test ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม นักเรียนที่มีความรู้และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการดี มีสัดส่วนมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับทัศนคติ พบว่าหลังได้รับโปรแกรม สัดส่วนของนักเรียนที่มีทัศนคติดีต่อการอ่านฉลากโภชนาการในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปใช้ ในการส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มในนักเรียนชั้นประถม ศึกษาตอนปลาย โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อให้นักเรียนสามารถอ่านฉลากโภชนาการ และเลือกขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มได้อย่างเหมาะสม