ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม: การศึกษาเปรียบเทียบย้อนหลัง

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการพยาบาล ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในด้านความปวดหลังผ่าตัด จำนวนวันที่ลุกเดิน ได้ครั้งแรกหลังผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และการกลับเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลภายใน 3 เดือนหลังผ่าตัดโดยไม่ได้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล, บังอร ชาตริยานุโยค, Pensri Lausawatchaikul, Bangaorn Chatriyanuyok
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาล
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48604
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการพยาบาล ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ในด้านความปวดหลังผ่าตัด จำนวนวันที่ลุกเดิน ได้ครั้งแรกหลังผ่าตัด ระยะเวลานอนโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และการกลับเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลภายใน 3 เดือนหลังผ่าตัดโดยไม่ได้วางแผน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาล ตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 80 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (กลุ่ม 1) ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2548 ถึง ธันวาคม 2548 จำนวน 40 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลคลินิก (กลุ่ม 2) ในช่วงเดือนมกราคม 2549 ถึง พฤษภาคม 2549 จำนวน 40 ราย ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็น ผู้สูงอายุเพศหญิง เป็นโรค กระดูกสะโพกหัก มีอายุเฉลี่ย 65.55 ปี และ 66.33 ปี ในกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ตามลำดับ ผลการ ศึกษาพบว่ากลุ่ม 2 มีคะแนนความปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่า จำนวนวันที่ลุกเดินได้ครั้งแรกหลัง ผ่าตัดเร็วกว่า ระยะเวลานอนโรงพยาบาลน้อยกว่าและภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่ม 1 แต่พบว่าสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดหลังผ่าตัด คือ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ รองลงมาคือ ภาวะสับสนเฉียบพลัน เลือดออกในระบบ ทางเดินอาหาร และปอดแฟบ อาการไม่พึงประสงค์หลังผ่าตัดที่พบมากที่สุด คือ อาการท้องผูก ผลจากการศึกษานี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น