ความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างที่รับการรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไขสันหลัง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการฉีดยาเข้าไขสันหลังในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยใช้แนวคิด คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่างที่มารับการ รักษาที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กานดา กาญจนโพธิ์, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, สุภาพ อารีเอื้อ, ธเนศ วัฒนะวงษ์, Kanda Kanjanapho, Yupapin Sirapo-ngam, Suparb Aree-Ue, Thanet Wattanawong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2019
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48606
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรม และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการฉีดยาเข้าไขสันหลังในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยใช้แนวคิด คุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่างที่มารับการ รักษาที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 80 ราย เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนเมษายน ถึงเดือน สิงหาคม 2552 โดยใช้ Numeric Rating Scale วัดความปวด วัดความสามารถในการทำกิจกรรม โดยใช้ Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire และใช้แบบวัดคุณภาพ ชีวิตขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย นำเสนอข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่า เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ one factor repeated measures ANOVA และ McNemar’s test ผลการศึกษา พบว่า หลังการฉีดยาเข้าไขสันหลัง (epidural steroid injection: ESI) 1 และ 4 สัปดาห์กลุ่มตัวอย่างมีความปวดลดลง ความสามารถในการทำ กิจกรรมสูงขึ้นกว่าก่อนฉีดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพชีวิตหลังฉีดยา 1 สัปดาห์สูงขึ้น กว่าก่อนฉีดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นถึงผลของการฉีดยาในการรักษาอาการ ปวดหลังส่วนล่าง ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยใน การดูแลสุขภาพ ในการเลือกแนวทางในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และนำไปใช้เป็น แนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเกี่ยวกับการเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการ ฉีดยาเข้าไขสันหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและปฏิบัติตนได้ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการฉีด