การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการการหกล้มในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การหกล้มเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงบุคลากรและองค์กร การหกล้มเป็นตัวชี้วัดคุณภาพที่เป็น ภาพรวมของโรงพยาบาลในเชิงผลลัพธ์ทางการพยาบาลและส่งเสริมความปลอดภัย การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ทิพเนตร งามกาละ, ประคอง อินทรสมบัติ, สุปรีดา มั่นคง, Tipanetr Ngamkala, Prakong Intarasombat, Supreeda Monkong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48668
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การหกล้มเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงบุคลากรและองค์กร การหกล้มเป็นตัวชี้วัดคุณภาพที่เป็น ภาพรวมของโรงพยาบาลในเชิงผลลัพธ์ทางการพยาบาลและส่งเสริมความปลอดภัย การศึกษา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนหลักฐานทางวิชาการที่เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการการ หกล้มในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยสืบค้นจากแหล่งข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ.2533-2550 เป็นงานวิจัยจำนวน 16 เรื่อง จัดอยู่ในระดับ A 4 เรื่อง ระดับ B 10 เรื่อง และระดับ C 2 เรื่อง ผลการศึกษา จำแนกเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม ประกอบด้วยปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานในการประเมินปัจจัยเสี่ยง และใช้มากที่สุดคือ Morse Fall Scale 2) การบำบัดทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการการ หกล้มแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ การป้องกันการหกล้มแบบที่มุ่งบำบัดเพียงปัจจัยเดียว และ การป้องกันการหกล้มที่มุ่งบำบัดหลายปัจจัยร่วมกัน ผลการศึกษา พบว่า การป้องกันการหกล้มที่ มุ่งบำบัดหลายปัจจัยร่วมกัน สามารถป้องกันและลดอัตราการหกล้มได้อย่างมีนัยสำคัญ และ 3) ระบบการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานในระดับองค์กร เพื่อป้องกันและจัดการการหกล้ม ในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าการหกล้มสามารถป้องกันได้ องค์ ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการป้องกันการหกล้มในผู้ป่วยที่รับไว้รักษา ในโรงพยาบาล และเป็นการปฏิบัติโดยอาศัยหลักฐานเชิงประจักษ์และก่อให้เกิดประสิทธิผล รวมทั้ง เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติในการป้องกันและจัดการการหกล้มในผู้ป่วยที่รับไว้รักษา ในโรงพยาบาล