ผลของโครงการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นประเด็นปัญหาด้านบริการที่สำคัญในระบบ สาธารณสุขของประเทศไทย แต่กลับพบว่าพยาบาลที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมักได้รับ การเตรียมสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงพอ ทำให้พยาบาลรู้สึกไม่สบายใจที่จะให้การ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีรายงานพบว่าการจัดโปรแกรมฝึกอบรมความรู้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, อัจฉรียา ปทุมวัน, สมทรง จุไรทัศนีย์, อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช, Kanitha Hanprasitkam, Autchareeya Patoomwan, Somsong Churaitatsanee, Umaporn Paisansuthideth
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48669
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นประเด็นปัญหาด้านบริการที่สำคัญในระบบ สาธารณสุขของประเทศไทย แต่กลับพบว่าพยาบาลที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมักได้รับ การเตรียมสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงพอ ทำให้พยาบาลรู้สึกไม่สบายใจที่จะให้การ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีรายงานพบว่าการจัดโปรแกรมฝึกอบรมความรู้ช่วยส่งเสริมการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามผลของโครงการอบรม การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ให้แก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั่วไปและหอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีพยาบาลจำนวน 86 รายเข้าร่วมการอบรมความรู้เกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเวลา 2 วัน ประมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย โดยให้ตอบแบบสอบถาม 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนเข้ารับการอบรม (ครั้งที่ 1) หลังได้รับ การอบรม 1 เดือน (ครั้งที่ 2) และหลังได้รับการอบรม 3 เดือน (ครั้งที่ 3) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังการอบรม 1 เดือน และ 3 เดือน สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนน การปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังการอบรม 3 เดือนสูงกว่าหลังการอบรม 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และทัศนคติในการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายหลังการอบรม 1 เดือนและ 3 เดือนไม่มีความแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้ เห็นว่าโปรแกรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม