ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาและการรับรู้ การควบคุมโรคของผู้สูงอายุโรคหืด
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายภาคตัดขวางเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านสภาพสรีระของผู้สูงอายุ ภาวะการรู้คิด การสนับสนุนของครอบครัว และการสนับสนุน ของบุคลากรทีมสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาทั้งยาชนิดรับประทานและชนิด สูดพ่น และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองใน...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48755 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายภาคตัดขวางเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยด้านสภาพสรีระของผู้สูงอายุ ภาวะการรู้คิด การสนับสนุนของครอบครัว และการสนับสนุน
ของบุคลากรทีมสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาทั้งยาชนิดรับประทานและชนิด
สูดพ่น และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยากับการควบคุม
โรคหืดของผู้สูงอายุ โดยใช้ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืด มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาใน
คลินิกโรคหืด แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนมกราคม
ปี พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2552 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน
110 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการ
ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วง 60 ถึง 90 ปี โดยเฉลี่ย 68.99 ปี เป็นเพศหญิงร้อย
ละ 78.2 และเป็นเพศชายร้อยละ 21.8 จากการวิเคราะห์พบว่าความสามารถที่ดีในการมองเห็น
ฉลากยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา อาการมือสั่นขณะเคลื่อนไหว
มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถกดยาพ่นได้ แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือไม่มีความสัมพันธ์
กับความสามารถในการกดยาพ่น จำนวนฟันหน้าครบมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการ
อมหลอดพ่นยาได้มิด อย่างไรก็ตาม พบว่าการสนับสนุนของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยา แต่การสนับสนุนของบุคลากรทีมสุขภาพมีความสัมพันธ์
ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคหืด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
(ร้อยละ 71.8) สามารถควบคุมโรคหืดได้ในระดับปานกลาง และคะแนนพฤติกรรมการดูแล
ตนเองในการใช้ยาในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับการควบคุมโรคหืดในระดับตํ่า ซึ่งอธิบาย
ได้ว่าเมื่อผู้สูงอายุรับรู้ว่าควบคุมโรคหืดได้น้อย จึงมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองมาก ผลการ
ศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบุคลากรทีมสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความ
สามารถการดูแลตนเองด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคหืด เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสามารถ
ควบคุมอาการของโรคหืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
---|