ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรสในผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว

ความขัดแย้งของคู่สมรสเป็นปัญหาที่พบบ่อยในครอบครัวไทยและส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการ ความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรส การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในผู้ป่วยที่มาใช้บริการ ที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดีที่มีความ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สายสุนีย์ ทับทิมเทศ, สมจิต พฤกษะริตานนท์, ธราธิป พุ่มกำพล, Saisunee Tubtimtes, Somjit Prueksaritanond, Taratip Pumkompol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48762
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ความขัดแย้งของคู่สมรสเป็นปัญหาที่พบบ่อยในครอบครัวไทยและส่งผลกระทบต่อ คุณภาพชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการ ความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรส การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในผู้ป่วยที่มาใช้บริการ ที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดีที่มีความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส จำนวน 272 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ไคสแควร์ Odd Ratio และ Logistic regression ผลการ ศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 91.91 เคยใช้วิธี จัดการความขัดแย้งแบบมุ่งแก้ปัญหามาก่อนได้แก่ การยอมรับปัญหาร่วมกัน การพูดคุยปรึกษา หาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งผู้ชายใช้วิธีนี้มากกว่าผู้หญิง (ร้อยละ 97.70 และ ร้อยละ 89.19) แต่ ไม่พบความสัมพันธ์ของการจัดการแบบนี้กับการบาดเจ็บ ส่วนการจัดการทางอารมณ์ พบหลาก หลายวิธี เช่น เดินหนี หลีกเลี่ยง (ร้อยละ 62.50) ไม่สนใจ ไม่ตอบโต้ (ร้อยละ 43.38) และไหว้ พระสวดมนต์ (ร้อยละ 38.24) ผู้ชายและผู้หญิงมีการจัดการทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การร้องไห้ การระบายความทุกข์กับครอบครัวและการปฏิเสธคำกล่าวหา นอกจากนั้น ยังพบว่า พฤติกรรมการเผชิญหน้าและตอบโต้มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าการทำร้ายด้วยของมีคม/อาวุธทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็น 23 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ผู้ที่ไม่ใช้วิธีนี้ การทุบตีด้วยมือ/ไม้ ทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็น 13 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ ใช้วิธีนี้ โดยผู้ที่มีความขัดแย้ง 14 ใน 272 ราย เคยได้รับบาดเจ็บในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยสรุป ความขัดแย้งในคู่สมรสเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ความรุนแรงในคู่สมรสสามารถป้องกัน ได้ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม แต่ผลการศึกษานี้พบว่า คู่สมรสมากกว่าครึ่งระบุว่ามีความขัดแย้ง และพบว่าการจัดการแบบเผชิญหน้าและตอบโต้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และพบว่าคู่สมรสจำนวน มากมีความต้องการบริการและต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ