การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2517-2550 เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยและวิเคราะห์รายละเอียดผลวิจัยที่เกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ สืบค้นด้วยตนเอง และความร่วมมือจากเครือข่าย พบงานวิจัยท...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุทธานันท์ ชุนแจ่ม, โสภิณ แสงอ่อน, ทัศนา ทวีคูณ, Suthanan Chunjam, Sopin Sangon, Tusana Thaweekoon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48763
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2517-2550 เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยและวิเคราะห์รายละเอียดผลวิจัยที่เกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ สืบค้นด้วยตนเอง และความร่วมมือจากเครือข่าย พบงานวิจัยทั้งหมดจำนวน 183 เรื่อง แบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 177 เรื่อง การวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 5 เรื่อง และการวิจัยผสมผสานจำนวน 1 เรื่อง ผลการวิจัย มี 2 ประเด็นหลักคือ 1) คุณลักษณะของงานวิจัยพบว่า ชนิดงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เป็น ส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ปี พ.ศ. ที่ตีพิมพ์งานวิจัยมากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2547-2550 แหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากทบวงมหาวิทยาลัย ประเภทการวิจัยเป็นการวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยทั้งหมด มีการระบุวัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดส่วนใหญ่สร้างจากการทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีที่ใช้ใน งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้ทฤษฎีทางจิตสังคม แบบการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบไม่ทดลอง ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยทางกายโรคเรื้อรัง มีการใช้ Center for Epidemiologic Studies- Depression Scale (CES-D), Beck Depression Inventory (BDI), Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) เป็นแบบสอบถามในการประเมินและคัดกรองภาวะซึมเศร้าเป็นส่วนมาก 2) รายละเอียด ผลการวิจัยวิเคราะห์ตามการวิจัยเชิงปริมาณแบบไม่ทดลองจำนวน 120 เรื่อง และแบบทดลอง/ แบบกึ่งทดลองจำนวน 57 เรื่อง พบว่า การวิจัยแบบไม่ทดลองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความชุก และอุบัติการณ์ของภาวะซึมเศร้าจำนวน 40 เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายภาวะซึมเศร้า จำนวน 58 เรื่อง และการพัฒนาแบบวัดภาวะซึมเศร้าจำนวน 15 เรื่อง ส่วนการวิจัยแบบ ทดลอง/แบบกึ่งทดลอง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาผลของการบำบัดทางด้านจิตสังคมที่มี หลากหลายรูปแบบ เช่น การให้คำปรึกษาทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆ เช่น Gestalt และ Roger เป็นต้น การบำบัดทางความคิด การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การทำสมาธิ และการผ่อนคลาย เป็นต้น จากการสำรวจงานวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า งานวิจัยที่ เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยทางกายเป็น ส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้มีการศึกษาในผู้ป่วยทางจิตหรือในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะซึมเศร้า เช่น กลุ่มผู้ดูแล กลุ่มคนทำงาน เป็นต้น ให้เพิ่มมากขึ้นและสนับสนุนให้มีการวิจัย ที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูให้มากขึ้น