ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างเพศ บรรยากาศในครอบครัว สถานะทางการเงิน ความแข็งแกร่งในชีวิต และพฤติกรรม เสี่ยงของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ วัยรุ่นที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 จากโร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน, ลัดดา แสนสีหา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, พิศสมัย อรทัย, Patcharin Nintachan, Srisuda Vanaleesin, Ladda Sanseeha, Kwaunpanomporn Thummathai, Pisamai Orathai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48764
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างเพศ บรรยากาศในครอบครัว สถานะทางการเงิน ความแข็งแกร่งในชีวิต และพฤติกรรม เสี่ยงของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ วัยรุ่นที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 จากโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,715 คน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้โดยใช้ โปรแกรมพรีลิส (PRELIS for windows) ตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และวิเคราะห์รูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL for windows) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาอิทธิพลระหว่างตัวแปรพบว่า เพศชายมีความแข็งแกร่งในชีวิตน้อยกว่าเพศหญิง และ มีพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถานะทางการเงินมีอิทธิพลตรง ทางบวกต่อความแข็งแกร่งในชีวิตและมีอิทธิพลตรงทางลบต่อพฤติกรรมเสี่ยง และยังมีอิทธิพล อ้อมต่อพฤติกรรมเสี่ยงผ่านความแข็งแกร่งในชีวิต บรรยากาศในครอบครัวมีอิทธิพลตรงทางบวก ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตแต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมเสี่ยงผ่านความแข็งแกร่งในชีวิต ส่วนความแข็งแกร่งในชีวิตมีอิทธิพลตรงทางลบต่อพฤติกรรมเสี่ยง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้ เห็นว่า วัยรุ่นที่มีความแข็งแกร่งในชีวิตสูงจะมีพฤติกรรมเสี่ยงน้อย วัยรุ่นชายมีความแข็งแกร่งในชีวิต น้อยกว่าวัยรุ่นหญิง และมีพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าวัยรุ่นหญิง วัยรุ่นที่ได้รับเงินเพียงพอและมี ครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวจะมีความแข็งแกร่งในชีวิตสูงส่งผลให้มีพฤติกรรมเสี่ยงน้อยลง ข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความ แข็งแกร่งในชีวิตสำหรับวัยรุ่นเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป