การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ 1) บทบาทปัจจุบันและบทบาทที่คาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 2) องค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 3) กิจกรรมการ ดำเนินงานอนามัยโรงเรียน และ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48793 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับ 1) บทบาทปัจจุบันและบทบาทที่คาดหวังของผู้เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 2) องค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน 3) กิจกรรมการ
ดำเนินงานอนามัยโรงเรียน และ 4) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ
ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์
ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่
สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน สูงกว่าบทบาท
ที่ปฏิบัติจริงในปัจจุบัน ผู้บริหารโรงเรียน/ครูอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่ละคนรับรู้งาน
อนามัยโรงเรียนไม่ครบทุกกิจกรรม เมื่อรวบรวมคำตอบของทุกคนจากทุกฝ่าย จึงครอบคลุมครบทุก
กิจกรรม แต่ก็ยังปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน ส่วนผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรู้งาน
อนามัยโรงเรียนไม่ครบทุกกิจกรรมเช่นกัน กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน
อนามัยโรงเรียนควรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ครูทุกคนในโรงเรียน ผู้ปกครอง
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน ชุมชน วัด และสำนักงานการประถมศึกษา
ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนคือ ขาดงบประมาณ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขาดความรู้
ขาดการประสานงาน ขาดความร่วมมือ ขาดการประเมินผลการดำเนินงาน ครูอนามัยโรงเรียนและ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีภาระงานมากจนไม่สามารถดำเนินงานอนามัยโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตามที่ถูกคาดหวัง ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการประชุม เพื่อทำข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับ
บทบาทในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างมี
ประสิทธิภาพ 2) ครูทุกคนในโรงเรียน ตลอดจนนักเรียนและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในงานอนามัยโรงเรียน
และ 3) นำข้อมูลจากการศึกษาไปประกอบในการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนที่พึงประสงค์
ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ |
---|