วิธีปฏิบัติใหม่แบบลดการปนเปื้อนในการผ่าตัดเพื่อลดอัตราการติดเชื้อแผลผ่าตัด

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำไปสู่การทำวิจัย (Routine to Research) เพื่อ เปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัดระหว่างการใช้วิธีปฏิบัติใหม่แบบลดการปนเปื้อนใน ขณะผ่าตัดกับวิธีปฏิบัติแบบปกติในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตับ ระบบทางเดินน้ำดีและลำไส้ใหญ่ หลักการของวิธีปฏิบัติใหม่คือ การแยกอุปกรณ์และผ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ณิชา ปิยสุนทราวงษ์, ปราณี เคหะจินดาวัฒน์, กนกวรรณ บุญแสง, เพียรจิตต์ ภูมิสิริกุล, Nicha Piyasoontrawong, Pranee Kehachindawat, Kanokwan Boonsaeng, Pienjit Bhumisirikul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/48802
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการพัฒนางานประจำไปสู่การทำวิจัย (Routine to Research) เพื่อ เปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อของแผลผ่าตัดระหว่างการใช้วิธีปฏิบัติใหม่แบบลดการปนเปื้อนใน ขณะผ่าตัดกับวิธีปฏิบัติแบบปกติในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดตับ ระบบทางเดินน้ำดีและลำไส้ใหญ่ หลักการของวิธีปฏิบัติใหม่คือ การแยกอุปกรณ์และผ้าต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนออกจากสิ่งของที่สะอาด และการนำอุปกรณ์และผ้าที่ปนเปื้อนออกจากบริเวณผ่าตัดทันที กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยผ่าตัดตับ ระบบทางเดินน้ำดีและลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2548 จำนวนทั้งสิ้น 121 ราย ไม่รวมการผ่าตัดหลายอวัยวะ (multi-procedures) ซึ่งมีจำนวน 43 ราย มีผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 78 ราย พยาบาลหน่วย ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเฝ้าระวังติดตามผู้ป่วยจนกระทั่ง 30 วันหลังผ่าตัด โดยติดตาม จากเวชระเบียนของผู้ป่วย ซึ่งติดตามได้ครบ 65 ราย และพบว่ามีการติดเชื้อแผลผ่าตัดจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 12.3) โดยพบแผลผ่าตัดติดเชื้อ 1 ราย (ร้อยละ 4.6) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้วิธีปฏิบัติ ผ่าตัดแบบลดการปนเปื้อนจำนวน 22 ราย และพบแผลผ่าตัดติดเชื้อ 7 ราย (ร้อยละ 16.3) ใน กลุ่มที่ใช้วิธีปฏิบัติแบบปกติจำนวน 43 ราย แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้ถือว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก เนื่องจากการผ่าตัดด้วยวิธีปฏิบัติแบบ ลดการปนเปื้อนมีการติดเชื้อแผลผ่าตัดน้อยกว่าวิธีปฏิบัติแบบปกติถึงร้อยละ 72 ดังนั้น ควรมี การศึกษาติดตามต่อไปในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น น่าจะทำให้ทราบผลของวิธีปฏิบัติใหม่แบบลด การปนเปื้อนต่ออัตราการติดเชื้อชัดเจนขึ้น