ผลของการอบรมพัฒนาจิตต่อความเครียดและสมรรถนะแห่งการมีสติของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนา จิตต่อการรับรู้ความเครียดและสมรรถนะแห่งการมีสติในนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 115 คน ซึ่งได้เข้ารับการ อบรมพัฒนาจิต ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: แสงทอง ธีระทองคำ, ทัศนา ทวีคูณ, Sangthong Terathongkum, Tusana Taweekoon
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52433
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการอบรมพัฒนา จิตต่อการรับรู้ความเครียดและสมรรถนะแห่งการมีสติในนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 115 คน ซึ่งได้เข้ารับการ อบรมพัฒนาจิต ณ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน และ ตอบแบบสอบถามครบถ้วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดการรับรู้ความเครียดและแบบวัด สมรรถนะแห่งการมีสติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ วัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่าก่อนการอบรมพัฒนาจิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความเครียด และสมรรถนะแห่งการมีสติ อยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังการอบรมพัฒนาจิต 1 สัปดาห์ และ หลังการอบรม 4 เดือน คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเครียดลดลงและสมรรถนะแห่งการมีสติ มากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม หลังการอบรม 4 เดือนกลุ่ม ตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเครียดเพิ่มขึ้น และสมรรถนะแห่งการมีสติลดลงเมื่อเทียบกับ หลังการอบรม 1 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการ อบรมพัฒนาจิตช่วยลดความเครียดและเพิ่มสมรรถนะแห่งการมีสติของนักศึกษาพยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลควรจัดการอบรมพัฒนาจิตในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์และควรมีการ ฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องตลอดการศึกษา