ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายและปัจจัย คัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการ และผู้ช่วยพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมทั่วไปและระบบ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นฤมล กิจจานนท์, อัจฉรา จงเจริญกำโชค, พรพิมล มาศนรากรณ์, Narumol Kijjanon, Achara Jongjareonkumchok, Pornpimol Masnaragorn
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52445
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเหนื่อยหน่ายและปัจจัย คัดสรร ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลประจำการ และผู้ช่วยพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมทั่วไปและระบบประสาท และหอผู้ป่วยวิกฤติ ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 53 ราย ประเมิน ความเหนื่อยหน่าย โดยใช้แบบวัดความเหนื่อยหน่ายของแมสแลซและแจคสัน ประกอบด้วย ด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและด้านความรู้สึกไม่ประสบ ความสำเร็จ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและ nonparametric tests ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลประจำการและผู้ช่วยพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม มีความเหนื่อยหน่ายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล และด้านความ รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับต่ำ อายุและประสบการณ์ทำงาน มีความสัมพันธ์ทางลบ กับความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ความคิดในการลาออกเนื่องจากเงินเดือนน้อยมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้า ทางอารมณ์ และด้านการลดความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ส่วนปัจจัยด้านตำแหน่ง ความสัมพันธ์กับ หัวหน้า การรับรู้สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานเรื่องกำลังคนและความรู้ในการทำงาน ความคิดที่ จะลาออกเนื่องจากงานหนัก เงินเดือนน้อยและเบื่องานมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การรับรู้ด้านค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอมีความสัมพันธ์กับความเหนื่อย หน่ายด้านความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สถานภาพสมรส หน้าที่หัวหน้าเวร เงินเดือน การรับรู้สัมพันธภาพกับครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ความคิดที่จะลาออกเนื่องจาก เวรดึก ไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายทั้ง 3 ด้าน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็น ข้อมูลเบื้องต้นในการป้องกันและจัดการเกี่ยวกับความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาล