ผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความพึงพอใจในบทบาทของมารดา ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารก และการเจริญเติบโตของทารก

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาท การเป็นมารดาต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความพึงพอใจในบทบาทของมารดา ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารก และการเจริญเติบโตของทารก การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเฉพาะเจาะจงจากแผนกสูติกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มนต์ตรา พันธุฟัก, ศรีสมร ภูมนสกุล, อรพินธ์ เจริญผล, Montra Phanthufak, Srisamorn Phumonsakul, Orapin Chareonpol
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์. งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชฯ
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52458
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมบทบาท การเป็นมารดาต่อความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความพึงพอใจในบทบาทของมารดา ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารก และการเจริญเติบโตของทารก การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบเฉพาะเจาะจงจากแผนกสูติกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 60 คู่ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ควบคุม และกลุ่มทดลองกลุ่มละ 30 คู่ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลตามปกติ ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาจากผู้วิจัย ระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2550 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2551 รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามความ รักใคร่ผูกพันระหว่างมารดา-ทารกในครรภ์ แบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดา-ทารก หลังคลอด แบบสอบถามความพึงพอใจในบทบาทมารดา และแบบสอบถามความสามารถในการ เรียนรู้พฤติกรรมทารก แบบบันทึกการเจริญเติบโตของทารก ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรัก ใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด 6 สัปดาห์ ความพึงพอใจในบทบาทมารดา และ ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารกของมารดาในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ และทารกในกลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวและส่วนสูงที่ 6 สัปดาห์ หลังคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการวิจัยนี้เสนอแนะว่า โปรแกรม การส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดาสามารถนำมาใช้ส่งเสริมความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดา และทารก ความพึงพอใจในบทบาทของมารดา ความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมทารก และ การเจริญเติบโตของทารก เพื่อส่งเสริมการดำรงบทบาทในมารดาครรภ์แรกต่อไป