ความสัมพันธ์ของความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนและความเชื่อด้านสุขภาพกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่น

การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยวัยรุ่น ตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเจ็บป่วย และความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตน ที่ต่างกัน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วย วัยรุ่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นันทิตา จุไรทัศนีย์, บัวทอง สว่างโสภากุล, สุรินทร์ นิยมางกูร, Nuntita Churaitatsanee, Buathong Sawangsopakul, Surin Niyamangkul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52534
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยวัยรุ่น ตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเจ็บป่วย และความเชื่ออำนาจภายในภายนอกตน ที่ต่างกัน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพและการดูแลตนเองของผู้ป่วย วัยรุ่น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและสุ่มแบบสัดส่วนตาม ระบบโรคของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้ป่วยวัยรุ่นที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นและผ่านการทดสอบคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบ t-test, analysis of variance, การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยวัยรุ่นที่มีความแตกต่างด้านปัจจัย ส่วนบุคคล (อายุ จำนวนพี่น้อง ระดับการศึกษาของผู้ป่วย และสิทธิค่ารักษาพยาบาล) ปัจจัย ด้านการเจ็บป่วย (การเคยเป็นผู้ป่วยใน และจำนวนครั้งในการรับการรักษา) มีการดูแลตนเอง แตกต่างกันและผู้ป่วยวัยรุ่นที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนมีการดูแลตนเองน้อยกว่าผู้ป่วยที่มี ความเชื่ออำนาจภายนอกตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า การรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน และการรับรู้ประโยชน์ของ การรักษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่น แต่การรับรู้อุปสรรคของ การปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางลบกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ