การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การตอบคำถามการประเมินความ ปวดด้วยตนเองแบบง่ายโดยใช้กลุ่มคำอธิบาย และมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข ในผู้ป่วยหลัง ได้ยาระงับความรู้สึกทั่วไป ที่มีความรู้สึกตัวระดับ 1 และ 2 ตามเกณฑ์ของ Aldrete’s score 2) ระดับความรุนแรงของความปวด และ 3) พฤติกรรมที่ผู้ป่วยแ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ลลิดา อาชานานุภาพ, รุ้งจิต เติมศิริกุลชัย, Lalida Achananuparp, Rungchit Thermsirikunchai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์. งานการพยาบาลผ่าตัด
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52541
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การตอบคำถามการประเมินความ ปวดด้วยตนเองแบบง่ายโดยใช้กลุ่มคำอธิบาย และมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข ในผู้ป่วยหลัง ได้ยาระงับความรู้สึกทั่วไป ที่มีความรู้สึกตัวระดับ 1 และ 2 ตามเกณฑ์ของ Aldrete’s score 2) ระดับความรุนแรงของความปวด และ 3) พฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกเมื่อมีความปวด กลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไปขณะพักในห้องพักฟื้นศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 200 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน และการประเมินอาการของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือประเมินความปวด แบบง่ายโดยใช้กลุ่มคำอธิบายและมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง หลังผ่าตัดที่มีความรู้สึกตัวระดับ 1 ตอบคำถามการประเมินความปวดด้วยตนเองแบบง่ายโดยใช้ กลุ่มคำอธิบายและมาตรวัดความปวดแบบตัวเลขได้ร้อยละ 100 และร้อยละ 62.5 ตามลำดับ เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกตัวระดับ 2 สามารถตอบคำถามการประเมินความปวดด้วยตนเอง แบบง่ายโดยใช้กลุ่มคำอธิบาย และมาตรวัดความปวดแบบตัวเลขได้ร้อยละ 100 และร้อยละ 97.5 ตามลำดับ 2) ระดับความรุนแรงของความปวด ส่วนใหญ่มีความปวดรุนแรงระดับปานกลาง ถึงมากที่สุด จากการประเมินความปวดด้วยตนเองแบบง่ายโดยใช้กลุ่มคำอธิบายพบร้อยละ 63.4 และมาตรวัดความปวดแบบตัวเลขพบร้อยละ 50 ในผู้ป่วยที่มีความรู้สึกตัวระดับ 1 สำหรับผู้ป่วย ที่มีความรู้สึกตัวระดับ 2 พบร้อยละ 73 และ 78.5 ตามลำดับ 3) พฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อมี ความปวด ส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสีหน้าและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ การนอน นิ่งๆ สีหน้าผ่อนคลาย และหน้านิ่วคิ้วขมวด นอกจากนี้ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างหลังผ่าตัดจะรู้สึกตัวดี โดยมีความรู้สึกตัวระดับ 2 สามารถตอบคำถามการประเมินความปวดด้วยมาตรวัดความปวด แบบตัวเลขได้เป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.5) แต่พบว่าร้อยละ 2.5 ไม่สามารถตอบคำถามการ ประเมินได้ ดังนั้น การประเมินความปวดหลังผ่าตัดควรใช้วิธีการประเมินหลายวิธีร่วมกันจึงจะ ทำให้การประเมินความปวดได้ครอบคลุมและถูกต้องกับสภาพจริงของผู้ป่วยมากที่สุด