ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุน จากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท โดย ใช้กรอบแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ ผู้ที่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุที่...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พรทิพย์ มาลาธรรม, จิราพร คงเอี่ยม, ประคอง อินทรสมบัติ, Porntip Malathum, Jiraporn Kongiem, Prakong Intarasombat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/52549
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุน จากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท โดย ใช้กรอบแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ ผู้ที่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จังหวัด ฉะเชิงเทรา จำนวน 60 คู่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบคัดกรองการรู้จำ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุของครอบครัว แบบสอบถามการรับรู้แรงสนับสนุน จากครอบครัวและจากเพื่อนของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุของครอบครัว และการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ พบว่าการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวและการรับรู้ แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม คะแนนการให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุตามการรับรู้ ของครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ หรือ กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็น ความสำคัญของแรงสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนในการส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุ และการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุนั้น หากผู้สูงอายุไม่รับรู้ อาจไม่ช่วยส่งเสริมความ พึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพจึงควรหาแนวทางให้ผู้สูงอายุได้รับการ ตอบสนองความต้องการด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และเครือข่ายทางสังคมอย่าง เหมาะสม เพื่อความพึงพอใจในชีวิตที่มากขึ้น