การศึกษาปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลอันประกอบไปด้วย เพศ ชั้นปี ภูมิลำเนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54038 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลอันประกอบไปด้วย เพศ ชั้นปี ภูมิลำเนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ชั้นปีที่ 2-5 ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 155 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ(Rating scale ) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับร้อยละ 91 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency distribution ) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation -
SD) สถิติการทดสอบค่าที (t-test) และการความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจะทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเช่ฟเฟ้
ผลการศึกษาพบว่า
1)ผลการศึกษาปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ของหน่วยกิจการนักศึกษา งานบริหารการศึกษาและสัตวแพทยศาสตร์ศึกษา เมื่อพิจารณาในเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมและรายด้าน พบว่า มีปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2)ผลการเปรียบเทียบปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษา พบว่า 2.1 นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีปัจจัยในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และค่านิยมที่ถูกต้อง, ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์, กิจกรรมวินัย ทักษะทางสังคม วิชาชีพ วิชาการ และจิตปัญญาศึกษาและด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05
2.3 นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาที่ต่างกัน มีปัจจัยในเข้าร่วมกิจกรรมโดยภาพรวม ปัจจัยในเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์, กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และค่านิยมที่ถูกต้อง, กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพ และกิจกรรมวินัย ทักษะสังคม วิชาชีพ วิชาการ และจิตปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 |
---|