สถานการณ์และการมีส่วนร่วมของสังคมในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาชีพและ การจ้างงานของคนพิการ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือ นโยบายด้านอาชีพและการจ้างงานของคนพิการของผู้เกี่ยวข้องและสังคมในสภาพจริงที่เป็นปัจจุบัน 2) สภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ของคนพิการ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54058 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือ นโยบายด้านอาชีพและการจ้างงานของคนพิการของผู้เกี่ยวข้องและสังคมในสภาพจริงที่เป็นปัจจุบัน 2) สภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ของคนพิการ ผู้ดูแล คนพิการ ผู้จ้างงานคนพิการและเพื่อนร่วมงานกับความรู้การใช้สิทธิทางกฎหมาย 4) เจตคติ ความเชื่อต่อคนพิการ การมีส่วนร่วมต่อกระบวนการจ้างงานคนพิการตลอดทั้งกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจากกลุ่มคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน ผู้ดูแลหลัก นายจ้างเพื่อนร่วมงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้องจำนวน ทั้งสิ้น 535 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอ้างอิง t-test และ One way ANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จาก การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน ใช้การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงอุปนัยโดยการตีความ ถอดรหัส
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สภาพการบังคับใช้กฎหมายหรือนโยบายด้านอาชีพ และการจ้างงานของคนพิการ อยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบระดับความรู้ฯ และระดับคะแนนสภาพ ความเป็นจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคนพิการในปัจจุบัน ทั้งโดยรวมและรายด้านตามปัจจัยส่วน บุคคล มีความแตกต่างกันในแต่ละประเด็นของแต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเจตคติ ความเชื่อต่อคนพิการ พบว่าคนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อคนพิการมองว่าคนพิการมีศักยภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1) องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการควรให้ความรู้/ ข้อมูลแก่คนพิการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการตามกฎหมายอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองตามกฎหมายในการประกอบอาชีพและการจ้างงาน คนพิการ 2) ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรฝึกอาชีพให้ทันสมัย เพื่อพัฒนาแรงงานคนพิการให้เป็นแรงงานมีฝีมือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน 3) ควรได้มีการวิจัยเชิง สังเคราะห์บทเรียนและการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อร่างสาระสำคัญ ประเด็นทางอาชีพและการจ้างงาน สภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไทย |
---|