ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัญหาของระบบลงทะเบียนออนไลน์บน OASIS (Online Access to Student Information Services) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัญหาของระบบลงทะเบียนออนไลน์บน OASIS 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User - friendly) ด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ ด้านความถูกต้องของข้อมูล และด้านฟังก์ชั่น การใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาของว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กวิน ปลาอ่อน, Kawin Pla-on
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยนานาชาติ
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54087
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อปัญหาของระบบลงทะเบียนออนไลน์บน OASIS 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User - friendly) ด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ ด้านความถูกต้องของข้อมูล และด้านฟังก์ชั่น การใช้งาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2554-2555 จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับปัญหาของระบบโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาเห็นด้วยกับปัญหาด้านความเร็วของระบบและความเสถียรของระบบในระดับมาก ด้านความถูกต้องของข้อมูลและด้านฟังก์ชั่นการใช้งานในระดับปานกลาง ส่วนด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งานอยู่ในระดับน้อย อีกทั้งนักศึกษาชายและหญิงมีความเห็นไม่แตกต่างกันเกี่ยวกับปัญหาด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ โดยมีความคิดเห็นในด้านดังกล่าวในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัญหาด้านความเร็วและความเสถียรของระบบเป็นรายข้อพบว่า นักศึกษาเห็นว่าระบบช้าเมื่อมีผู้ใช้งานพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากในระดับมากที่สุด ระบบไม่มีความเสถียรในระดับมาก การวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า นักศึกษาชายเห็นด้วยมากกว่านักศึกษาหญิงต่อปัญหาของระบบด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ด้านความถูกต้องของข้อมูล และด้านการตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระดับความเห็นด้วยต่อปัญหาของระบบด้านความเร็วและความเสถียรของระบบ และด้านความถูกต้องของข้อมูลน้อยกว่าชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 4 และที่สูงกว่าชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการบริการมีระดับความเห็นด้วยต่อปัญหาของระบบด้านความเป็นมิตรกับผู้ใช้งานน้อยกว่าสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาการผลิตสื่อบันเทิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05