การคลังภาครัฐเปรียบเทียบ : กรณีศึกษาไทย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี

การคลังภาครัฐบาล (Public Finance) เป็นการคลังในส่วนของภาครัฐบาล ตลอดจนเป็นการคลังในกิจกรรมใดๆ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม และมีผลผูกพันและกระทบต่อพลเมืองในรัฐ ตลอดจนมีความเกี่ยวเนื่องกับบทบาทใน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ, ติณณภพ พัฒนะ, ณิชกานต์ บรรพต, คณิศร เทียนทอง, Somboon Sirisunhirun, Nisachon Chatthong, Tinapop Pattana, Nichakan Banphot, Kanisorn Thienthong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54333
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การคลังภาครัฐบาล (Public Finance) เป็นการคลังในส่วนของภาครัฐบาล ตลอดจนเป็นการคลังในกิจกรรมใดๆ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม และมีผลผูกพันและกระทบต่อพลเมืองในรัฐ ตลอดจนมีความเกี่ยวเนื่องกับบทบาทในทางเศรษฐกิจของรัฐบาล บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการคลังภาครัฐของ 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี เนื่องจากเป็นประเทศมหาอำนาจหรือผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกหรือของภูมิภาคต่างๆ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อรูปแบบเศรษฐกิจและการบริหารจัดการคลังภาครัฐ ตลอดจนมีพัฒนาการและภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เช่นกรณีการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี หรือแม้กระทั้งการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร จึงล้วนแต่เป็นประเทศกรณีตัวอย่างที่น่าศึกษาระบบการคลังภาครัฐได้เป็นอย่างดี โดยมีขอบข่ายสําคัญ ๆ เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่พิจารณาใน 6 เรื่อง ได้แก่ รายได้ของรัฐบาล (Government Reverence) รายจ่ายของรัฐ (Public Expenditure) หนี้สาธารณะ (Public Debt) งบประมาณแผ่นดิน (Government Budget) นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) และ นโยบายการเงิน (Monetary policy)