การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาครัฐสู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

บทความทางวิชาการเรื่อง การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาครัฐสู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เป็นการนำเสนอถึงความหมายรายละเอียด องค์ประกอบที่สำคัญของหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอน กระบวนการ กลไกต่างๆที่ภาครัฐใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางที่สำคัญในก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ, ชินจิต ไชยธรรม, Somboon Sirisunhirun, Chinnajit Chaiyatham
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54354
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:บทความทางวิชาการเรื่อง การขับเคลื่อนธรรมาภิบาลภาครัฐสู่การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เป็นการนำเสนอถึงความหมายรายละเอียด องค์ประกอบที่สำคัญของหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอน กระบวนการ กลไกต่างๆที่ภาครัฐใช้เป็นเครื่องมือหรือแนวทางในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงแนวทางที่สำคัญในการผลักดันหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประเด็นสำคัญในการนำเสนอจะกล่าวถึงการให้ความสำคัญในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ของรัฐบาลและใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศผ่านกระบวนการ ในการจัดทำกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่นำมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศโดยการกำหนดแนวทางการดำเนินการต่างๆ ที่จะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางและทิศทางในการขับเคลื่อนประเทศในช่วงระยะเวลา ๒๐ ปี ก็ได้มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เป็นกรอบในการดำเนินการ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ก็ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นกรอบการพัฒนาที่สำคัญ รวมไปถึงภาพรวมในการขับเคลื่อนหลักธรรมาภิบาลในภาครัฐเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของภาครัฐต่อไป