ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ความผูกพันองค์กรของนักศึกษาต่อสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นความรู้สึกประทับใจศรัทธา ภาคภูมิใจ ตั้งใจและพร้อมที่จะใช้ความพยายามที่มีอยู่ของบุคคลเพื่อสร้างชื่อเสียงที่ดีแก่สถาบันการศึกษานั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน และปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาหลักสูตรนานาช...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/54376 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ความผูกพันองค์กรของนักศึกษาต่อสถาบันการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นความรู้สึกประทับใจศรัทธา ภาคภูมิใจ ตั้งใจและพร้อมที่จะใช้ความพยายามที่มีอยู่ของบุคคลเพื่อสร้างชื่อเสียงที่ดีแก่สถาบันการศึกษานั้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน และปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรศึกษาเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ที่ยังคงสภาพนักศึกษาในรอบปีการศึกษา 2557 จำนวน 172 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคส์-แควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อนส่วนใหญ่ มีความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 51.2 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความทุ่มเทต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และมีความศรัทธาต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50.6 และ 50.0 ตามลำดับ และมีความจงรักภักดีต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.4 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ตำแหน่ง มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.022) แรงจูงใจในการเข้าศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับปานกลาง (p-value = 0.001, r = 0.687) และเมื่อจำแนกรายด้านพบว่าความคาดหวังในการศึกษาและการประกอบอาชีพ เหตุผลส่วนตัวและการสนับสนุนการศึกษามีความสัมพันธ์กับความผูกพันในเชิงบวกระดับปานกลาง (r = 0.731 และ 0.631 ตามลำดับ) ทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000,
r = 0.848) และมีความสัมพันธ์กับความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value =0.000, r = 0.790, 0.786 และ 0.765 ตามลำดับ) และความพึงพอใจโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(p-value = 0.000, r = 0.788) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความศรัทธา ความจงรักภักดีและความทุ่มเท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.772, 0.704, 0.700 ตามลำดับ) สัมพันธภาพโดยรวม ระหว่างความผูกพันต่อคณะเวชศาสตร์เขตร้อนกับ ความศรัทธา ความทุ่มเท และความจงรักภักดี
มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.000, r = 0.715, 0.699, 0.681, ตามลำดับ)
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างความผูกพันต่อสถาบันแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยผู้บริหารควรกำหนดแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับช่องทางและกิจกรรมสร้างความผูกพันต่อองค์กรแก่นักศึกษา กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างกิจกรรมระหว่างศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าเพิ่มขึ้น จัดบริการวิชาการ
โดยกำหนดกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสภาพสิ่งแวดล้อม และอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาเพิ่มขึ้น |
---|