การใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์จัดกลุ่มย่อยภาษาไทดำและข้อสนับสนุนการอพยพย้ายถิ่นฐาน

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การจัดกลุ่มย่อยภาษาไทดำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ คือ พัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทดำดั้งเดิมเป็นเกณฑ์หลัก และพัฒนาการของเสียงพยัญชนะกับสระภาษาไทดำดั้งเดิมเป็นเกณฑ์รอง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ดังกล่าวกับการอพยพย้ายถิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: โสภิตา ถาวร, สมทรง บุรุษพัฒน์, Sopita Thavorn, Somsonge Burusphat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/55081
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การจัดกลุ่มย่อยภาษาไทดำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ คือ พัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทดำดั้งเดิมเป็นเกณฑ์หลัก และพัฒนาการของเสียงพยัญชนะกับสระภาษาไทดำดั้งเดิมเป็นเกณฑ์รอง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ดังกล่าวกับการอพยพย้ายถิ่นของชาวไทดำ โดยใช้กรอบความคิดทางภาษาศาสตร์เปรียบเทียบเชิงประวัติและแนวคิดทางภาษาศาสตร์ เชิงสังคม ผลการวิจัยพบว่า การใช้เกณฑ์การกลายเสียงของวรรณยุกต์ ซึ่งพิจารณาจาก สัทลักษณะของวรรณยุกต์ A ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในภาษาไทดำปัจจุบัน ทำให้ผู้วิจัยสามารถแบ่งกลุ่มย่อยของภาษาไทดำได้เฉพาะในประเทศไทย ส่วนการใช้เกณฑ์พัฒนาการของเสียงพยัญชนะกับสระภาษาไทดำดั้งเดิมสามารถแสดงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างไทดำประเทศไทยกับไทดำประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เป็นไทดำอพยพ มากกว่าไทดำประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่เป็นไทดำต้นกำเนิด การแบ่งกลุ่มย่อยดังกล่าวนี้สอดคล้องกับประวัติการย้ายถิ่นฐานของชาวไทดำ