การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษานั้นได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทยการศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรนานาชาตินั้นยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการศึกษา โดยการวิจั...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/55094 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษานั้นได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่สำหรับในประเทศไทยการศึกษาความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรนานาชาตินั้นยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการศึกษา โดยการวิจัยครั้งนั้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2557-2558 จำนวน 358 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 37 ข้อ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ที่ 0.933 (Cronbach’s Alpha) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความผูกพันของนักศึกษาต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) จากข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษาผู้วิจัยพบว่า ความแตกต่างกันของ เพศ หลักสูตร และผลการเรียนไม่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่กลับพบว่า
ข้อมูลเบื้องต้นของนักศึกษา ได้แก่ ชั้นปี การเข้าร่วมกิจกรรมกลางของวิทยาลัยและการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม/สโมสรนักศึกษส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวมของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความภาคภูมิใจต่อวิทยาลัย สภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย ความผูกพันต่ออาจารย์ ความผูกพันต่อเจ้าหน้าที่ ความผูกพันต่อรุ่นพี่/รุ่นน้องและความผูกพันต่อเพื่อน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันต่อความผูกพันต่อวิทยาลัยในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
---|