ผลของการใช้มือโอบตัวทารกต่อการตอบสนองความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนด

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับในกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้ มือโอบตัวทารกต่อการตอบสนองความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อน กำหนดโดยประเมินพฤติกรรมการตอบสนองต่อความปวด การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้น ของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในทารกเกิดก่อนกหนดที่เข้า...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประทุมวดี เถาบุญ, ทิพวัลย์ ดารามาศ, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล, Pratumwadee Thaobun, Tipawan Daramas, Chunruedee Kongsaktrakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56864
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบข้ามสลับในกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้ มือโอบตัวทารกต่อการตอบสนองความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อน กำหนดโดยประเมินพฤติกรรมการตอบสนองต่อความปวด การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้น ของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดในทารกเกิดก่อนกหนดที่เข้ารับการรักษาใน หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 30 ราย ซึ่งได้รับการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทารกได้รับทั้งเหตุการณ์ควบคุมคือได้รับการพยาบาล ตามปกติและเหตุการณ์ทดลองคือได้รับการใช้มือโอบตัวทารกประเมินพฤติกรรมการตอบสนอง ต่อความปวดโดยใช้แบบประเมิน The Neonatal Infant Pain Scale (NIPS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติWilcoxonSigned-Rank Test ผลการวิจัยพบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการทดลองที่ ได้รับการใช้มือโอบตัวทารกมีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดในขณะเจาะเลือดและหลังเจาะเลือด นาทีที่ 1, 3, 7, และ 10 และค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังเจาะเลือดนาทีที่1 น้อยกว่าทารก เกิดก่อนกำหนดที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติค่าเฉลี่ยความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดหลังเจาะเลือดนาทีที่7 ในช่วงทดลองน้อยกว่าทารกเกิดก่อนกำหนดในช่วงการ ควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากผลการวิจัยพบว่า การใช้มือ โอบตัวทารกมีผลในการลดความปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนด ดังนั้น จึงควรนำวิธีการใช้มือโอบตัวทารกไปใช้ในการปฏิบัติพยาบาลเพื่อลดความปวดจากการ เจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกเกิดก่อนกำหนด