ภาวะสุขภาพของศตวรรษิกชน : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของศตวรรษิกชนซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุ 100 ปีหรือมากกว่า โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม (comprehensive geriatric assessment) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 ราย ได้มาจากการสำรวจสำมะโนประชากรของประชากรที่มีอายุ 100 ปีหรือมากกว่า ที่อาศัยอย...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56867 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของศตวรรษิกชนซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุ 100 ปีหรือมากกว่า โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม (comprehensive geriatric assessment) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 ราย ได้มาจากการสำรวจสำมะโนประชากรของประชากรที่มีอายุ 100 ปีหรือมากกว่า ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพ การสัมภาษณ์ และการตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 34 ราย มีอายุระหว่าง 100-108 ปี มีอายุเฉลี่ย 102 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จากการประเมินสุขภาพจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้สูงอายุมีประวัติอาการป่วยเฉียบพลันในเดือนที่ผ่านมา และ 1/3 มีโรคเรื้อรัง ด้านการรู้คิด พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีความบกพร่องจากการประเมินด้วยแบบทดสอบ แต่สามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งคิดว่าภาวะสุขภาพโดยรวมของตนเองไม่ค่อยดี แต่คิดว่ามีสุขภาพแข็งแรงกว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยและเพศเดียวกัน และมีความผาสุกอยู่ในระดับปานกลางจนถึงระดับสูง มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นต่อเนื่องได้ ยกเว้นการเดินทางโดยใช้รถขนส่งมวลชนด้วยตนเอง จากการตรวจร่างกายพบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายน้อยกว่าปกติ อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ประมาณ 2/3 มีภาวะความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีแรงบีบมือทั้งสองข้างในระดับต่ำมาก จากผลการศึกษา ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของศตวรรษิกชนที่บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปใช้ในการสร้างโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวให้เหมาะสมต่อไป |
---|