ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพความรู้ เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงโดยใช้กรอบแนวคิดของความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมเป็นแนวทางในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/56884 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพความรู้
เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดัน
โลหิตสูงโดยใช้กรอบแนวคิดของความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีมเป็นแนวทางในการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
เป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี จำนวน 70 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและสุ่มตัวอย่าง
แบบเชิงช่วงชั้นอย่างมีสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแล
ตนเองในโรคความดันโลหิตสูงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดัน
โลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า
ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับ
การควบคุมโรคกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็น
พื้นฐานที่สำคัญต่อการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ
จึงควรหาวิธีในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ความรู้อย่างมี
วิจารณญาณในการเลือกปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์เพื่อให้สามารถควบคุมโรคความ
ดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสม |
---|