รายงานวิจัยเรื่อง พลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาชุมชนอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

การศึกษาวิจัยเรื่อง “พลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อการพัฒนาชุมชน” กรณีศึกษาชุมชน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์บุคคล กลุ่ม และการจัดเวทีสนทนาโดยมุ่งศึกษาสองประเด็นหลัก คือ มีเหตุการณ์ใดบ้างที่จัดเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเหตุการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เอี่ยม ทองดี, วราภรณ์ ศรีสุพรรณ, วัฒนา เทียมปฐม, เสลภูมิ วรนิมมานนท์, สำเริง อยู่ประจำ, วิไลวรรณ โอรส, Iam Thongdee, Samrerng Yuprajum, Waraporn Srisuphan, Selaphum Woranimmanon, Wattana Thiampathom
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/58464
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษาวิจัยเรื่อง “พลังประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อการพัฒนาชุมชน” กรณีศึกษาชุมชน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์บุคคล กลุ่ม และการจัดเวทีสนทนาโดยมุ่งศึกษาสองประเด็นหลัก คือ มีเหตุการณ์ใดบ้างที่จัดเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นพลังต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนในลักษณะอย่างไรบ้างหรือไม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่ามีเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นและจัดได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และพบว่าประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เกี่ยวกับอาณาจักรสุวรรณภูมิ, อาณาจักรทวาราวดี, พระพุทธศาสนา, พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี, หน่วยงานภาครัฐ, การเมืองการปกครอง, กรุงเทพมหานคร และเหตุการณ์ทั่วไป เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่น โดยเกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ทั้งในส่วนดีและไม่ดี แต่ชุมชนไม่ได้ตระหนักในความสำคัญของพลังดังกล่าว ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ที่สำคัญคือน่าจะเพิ่มคุณค่าความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อการพัฒนาชุมชนให้มากขึ้น โดยการนำเอามิติทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมาใช้เพื่อการพัฒนาชุมชนคนในชุมชนจะได้รู้รากเหง้าความเป็นมาของตนเอง และเกิดความภูมิใจหวงแหน สำนึกรับผิดชอบต่อท้องถิ่นมากขึ้น พร้อมๆ กับการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ