ประสิทธิผลของโครงการป้องกันและควบคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดยวิธีการสร้างพลังอำนาจในกลุ่มสตรี และการมีส่วนร่วมของชุมชน

อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย และข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ การรับรู้ และทัศนคติของแม่บ้านเกี่ยวกับเอดส์ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ของกลุ่มแม่บ้าน / สตรี ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี การป้องกันและควมคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทรโมลี, วสันต์ ศิลปสุวรรณ, วรพรรณ รุ่งศิริวงศ์, Prapapen Suwan, Suree Chanthamolee, Wason Silpasuwan, Warapan Rungsiriwong
Other Authors: ประภาเพ็ญ สุวรรณ
Format: Research Report
Language:Thai
Published: 2016
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/59353
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย และข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ การรับรู้ และทัศนคติของแม่บ้านเกี่ยวกับเอดส์ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ของกลุ่มแม่บ้าน / สตรี ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี การป้องกันและควมคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดยมุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มแม่บ้านและสตรีในวัยเจริญพันธุ์ การได้มีความรู้ที่ถูกต้อง มีการรับรู้และมีทัศนคติต่อเอดส์ในทางที่พึงประสงค์ รวมทั้งการพัฒนาตนเองตามบทบาทและหน้าที่ของแม่บ้าน การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและเป็นตัวของตัวเอง และการมองเห็นคุณค่าของตนเอง น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะทำให้สตรีได้ตระหนักถึงภัยจากเอดส์ที่จะเกิดกับตนและครอบครัว และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมเอดส์ในครอบครัวของตน โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับเอดส์กับสามีและสมาชิกของครอบครัว การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาประสิทธิภาพของโครงการป้องกันและควมคุมเอดส์ในสถาบันครอบครัว โดย ทดลองวิธีการ 2 วิธีการ คือ การใช้วิธีการการสร้างพลังในสตรี และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้การ วิจัยแบบ One-Group- pretest and Post-test Without Control Group วิธีการที่ 1 คือ การสร้างพลังในสตรีดำเนินการใน 4 หมู่บ้าน ของจังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีการ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การพัฒนาผู้นำสตรี ซึ่งดำเนินการใน 2 หมู่บ้าน ในตำบล หนองสีดา อำเภอ หนองแซง จังหวัดสระบุรี และรูปแบบที่ 2 เป็นการพัฒนาสตรีโดยตรง ซึ่งดำเนินการใน 2 หมู่บ้าน ในตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท และวิธีการ 2 คือ การใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน ได้ดำเนินการใน 1 หมู่บ้าน ในตำบลทุ่งขวาง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแม่บ้านและพ่อบ้านในหมู่บ้าน ที่ทำงานทดลอง 5 หมู่บ้าน จำนวนอย่างละ 50 คน ในแต่ละหมู่บ้าน รวมเป็นแม่บ้าน 250 คน และพ่อบ้าน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสำรวจความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ เกี่ยวกับเอดส์และ พฤติกรรมการสื่อสาร ระหว่างภรรยา - สามี ที่เกี่ยวกับเอดส์ คู่มือการสนทนากลุ่มเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดการอบรมผู้นำสตรีและสตรีชุดการอบรมผู้นำชุมชน การรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ กลุ่มแม่บ้านและพ่อบ้าน การสนทนากลุ่มกับกลุ่มสตรีตำบลละ 2 กลุ่ม และได้มีการติดตามผล และ อบรมเพิ่มเติมในบางประเด็น รวมทั้งการควบคุมกำกับเป็นระยะ ๆ การประเมินผลโครงการทำโดยการ เปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณก่อนและหลังโครงการ และการประเมินเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อ มูลจากการสนทนากลุ่มการประเมินผลการอบรมแต่ละครั้ง การสังเกต การอภิปราย การประเมิน กิจกรรม ที่กลุ่มได้ดำเนินการในแต่ละโครงการย่อย การสัมภาษณ์ในช่วงของการติดตาม/ควบคุมกำกับ และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำสตรีและคณะกรรมการชุมชนเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผลการศึกษาพบว่าโครงการพัฒนาพลังของสตรีเพื่อป้องกันและควมคุมเอดส์ในครอบครัวโดยผ่าน ผู้นำสตรี และโดยการพัฒนาสตรีโดยตรง และโดยการให้ชุมชนมีส่วนร่วม มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความรู้เกี่ยวกับเอดส์ของแม่บ้านและพ่อบ้าน และทำให้การสื่อสาร/พูดคุยเกี่ยวกับเอดส์ระหว่างภรรยา-สามี เพิ่มมากขึ้น แต่มีบางประเด็นของการรับรู้และทัศนคติต่อเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ของกลุ่มแม่บ้านและพ่อบ้านยังไม่ถูกต้อง จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนให้ถูกต้อง การพัฒนาพลัง (Empowerment) ของสตรี จำเป็นจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องและเร่งด่วน รวมทั้งหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพ และควรจะสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มสตรีที่ได้ดำเนินการในหมู่บ้าน และควรจะได้พัฒนาร่วมกับกลุ่มสามีด้วย การประเมินเชิงคุณภาพของแต่ละโครงการและกิจกรรมย่อยชี้ให้เห็นว่า แต่ละกิจกรรรมได้ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ การดำเนินงานสร้างพลังในกลุ่มแม่บ้านโดยผ่านผู้นำสตรีนั้นมีข้อด้อย คือ การพัฒนาผู้นำสตรีให้ไปดำเนินการต่อนั้นทำได้ไม่ง่าย เพราะภาระกิจและศักยภาพของผู้นำสตรีเป็นองค์ประกอบสำคัญ แต่ใน กลุ่มที่พัฒนาพลังแม่บ้านโดยตรงนั้น น่าจะได้ผลดีกว่า แต่ต้องการความต่อเนื่องและลักษณะความเป็นผู้นำของชมรมแม่บ้าน / กลุ่มสตรีในหมู่บ้านในอันที่จะร่วมมือด้วย สำหรับในรูปแบบของการห้ชุมมชนมีส่วนร่วม โดยผ่านคณะกรรมการชุมชนนั้น พบว่าความเข้มแข็งและศักยภาพของคณะกรรมการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ กลุ่มผู้นำชุมชนที่ดำเนินงานในโครงการนี้ มีความร่วมมือ, รวมตัวอย่างสม่ำเสมอ และมีความเข้ม แข็ง จึงได้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงขอเสนอแนะว่าการดำเนินโครงการป้องกันและควมคุมเอดส์ในครอบครัวนั้น น่าจะทำในลักษณะของคณะกรรมการชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ และมีผู้แทนจากองค์กรสตรีร่วมด้วย และควรจะได้มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นที่กลุ่มแม่บ้าน/สตรีในชุมชน และการนำเอาสามีมาร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครอบครัวด้วย แนวคิดในการรวมสรรพกำลังทางสังคม ( social Mobilization) โดยให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม (Equity) ให้สังคมได้รวมกลุ่มกันคิด ทำ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (Solidarity) เพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน (Sustainabity) น่าจะนำมาประยุกต์ได้ดี