ความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต และปัจจัยทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจหาความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อตรวจหาอำนาจการทำนายของปัจจัยน้ำตาลในเลือดสะสม น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พันธุกรรม และรายได้ ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์บริการสาธารณสุ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นิตยา สิตะเสน, กีรดา ไกรนุวัตร, รักชนก คชไกร, Nittaya Sitasean, Kerada Krainuwat, Rukchanok Koshakri
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60633
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจหาความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และเพื่อตรวจหาอำนาจการทำนายของปัจจัยน้ำตาลในเลือดสะสม น้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พันธุกรรม และรายได้ ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจและการศึกษาภาพตัดขวางเชิงพรรณนา วิธีดำเนินการวิจัย: การสำรวจหาความชุกของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากกลุ่มตัวอย่าง 1,084 คน เก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561 และใช้การวิจัยภาพตัดขวางเชิงพรรณนา เพื่อหาอำนาจการทำนายของปัจจัยต่างๆ ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 175 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย: พบความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต คือ 363 คนต่อ 1,000 ประชากร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.0 อายุเฉลี่ย 67.3 ปี (SD = 8.9) ปัจจัยต่างๆสามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 45.6 (R2 .456) น้ำตาลสะสมในเลือด พฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และรายได้สามารถทำนายการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตได้ 2.0, 0.8, 0.9 และ 0.1 เท่า ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: การศึกษานี้สรุปได้ว่าความชุกการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตมีค่าสูง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด มีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพต่ำ มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ และมีรายได้ต่ำ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตมากขึ้น การศึกษานี้ให้ข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพงาน และพัฒนาโปรแกรม/กิจกรรมเพื่อป้องกัน หรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2