ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในพนักงานชายบริษัทผลิตรถยนต์ที่ทำงานรอบกลางคืน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานชายบริษัทผลิตรถยนต์ที่ทำงานรอบกลางคืน อายุระหว่าง 25-55 ปี จานวน 65 คน เก็บข้อมูลช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ความรู้เรื่อ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ณัฐภัสสร แก้วรัตนะอัมพร, พัชราณี ภวัตกุล, สุวัฒน์ ศรีสรฉัตร, เรวดี จงสุวัฒน์, Nathpaszorn Kaewrattanaamporn, Patcharanee Pavadhul, Suwat Srisorrachat, Rewadee Chongsuwat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาโภชนวิทยา
Format: Article
Language:Thai
Published: 2020
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60654
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานชายบริษัทผลิตรถยนต์ที่ทำงานรอบกลางคืน อายุระหว่าง 25-55 ปี จานวน 65 คน เก็บข้อมูลช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย ความเครียด และพฤติกรรมการบริโภคอาหารใช้แบบสัมภาษณ์อาหารบริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ independent samples t-test และ chi-square test ผลการศึกษาพบความชุกภาวะอ้วนลงพุงของพนักงานชายบริษัทผลิตรถยนต์ที่ทำงานรอบ กลางคืน ร้อยละ 67.69 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับการ บริโภคอาหาร หวาน, มัน, เค็ม (p=0.032)พลังงานที่จากการรับประทานอาหาร(p=0.004), การ ได้รับโซเดียม (p=0.004) และวิตามินบี1 (p=0.049) ส่วนกิจกรรมทางกาย, การดื่มแอลกอฮอล์, การสูบบุหรี่, ความเครียด ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง (p>0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พนักงานที่ทำงานรอบกลางคืนมีอัตราการเกิดภาวะอ้วนลงพุงสูง และมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภค อาหารระดับต่ำส่งผลถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงและโซเดียมสูง จึงควรมีการให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัย ลักษณะการทำงาน และวิถีชีวิตของพนักงานที่ทำงานรอบกลางคืน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต