โปรแกรมการดูแลตนเองสําหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสลายต่อกระจกและ เปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการจัดโปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด สลายต้อกระจกและเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง จำนวน 88 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วิภา พนัสนาชี, มลินี สมภพเจริญ, ธราดล เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, Wipa Panatnachee, Malinee Sompopcharoen, Tharadol Kengkarnpanich, Lakkhana Termsirikulchai
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60678
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการจัดโปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด สลายต้อกระจกและเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง จำนวน 88 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 44 ราย ซึ่งกลุ่มทดลองได้เข้าร่วม โปรแกรมการดูแลตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สัมภาษณ์ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในประสิทธิผลการดูแลตนเอง และพฤติกรรม การดูแลตนเองหลังผ่าตัด ก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน t – test และ Repeated Measure one way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่ม ทดลองมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และความคาดหวังในประสิทธิผลของการ ดูแลตนเอง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร (p<0.001) และผลการติดตามพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังผ่าตัด 3 ครั้ง คือ วันก่อนกลับบ้าน มาตรวจตาม นัด 1 สัปดาห์และ 1 เดือนหลังการผ่าตัด พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ครั้ง (วันก่อนกลับบ้าน p < 0.005, 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน หลังผ่าตัด p<0.001) จึงเห็นได้ว่า การจัดโปรแกรมการดูแลตนเองในครั้งนี้ ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแล ตนเองที่ถูกต้องสม่ำเสมอ