“งานประเพณีทิ้งกระจาด” : พื้นที่นำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่
บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงการนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนชุมชนตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านงานประเพณี ทิ้งกระจาดในฐานะเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยมีข้อสมมุติฐานที่ว่าประเพณีงานทิ้งกระจาดเป็นหนึ่งในกลไกของการธำรงอัตลักษณ...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60831 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | บทความนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายให้เห็นถึงการนำเสนออัตลักษณ์ของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนชุมชนตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านงานประเพณี
ทิ้งกระจาดในฐานะเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยมีข้อสมมุติฐานที่ว่าประเพณีงานทิ้งกระจาดเป็นหนึ่งในกลไกของการธำรงอัตลักษณ์เพื่อรักษาความเข้มแข็งทางสังคมของชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้ ค่านิยมร่วมกัน การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการลงพื้นที่การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในพิธีกรรมงานประเพณีทิ้งกระจาด ณ ตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่
ผลการวิจัยพบว่า งานประเพณีทิ้งกระจาดของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนในตรอกเหล่าโจ๊ว จังหวัดเชียงใหม่ แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์เชิงซ้อนที่ผสมผสานอัตลักษณ์ระหว่างความเป็น “คนเมือง” “คนไทย” และ “คนจีน” ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ “ศาลเจ้ากวนอู” ที่เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและการค้าขายของคนในชุมชน วัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของญาติพี่น้อง ดวงวิญญาณเร่ร่อน พเนจร และยังเป็นการแจกทานให้แก่ผู้ยากไร้ ดังนั้นการนำเสนออัตลักษณ์เชิงซ้อนในงานพิธีกรรมงานประเพณีทิ้งกระจาดจึงนับว่าเป็นกลไกในการธำรงอัตลักษณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่อยู่ท่ามกลางความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมด้านการค้าและตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ |
---|