การแปรเสียงพยัญชนะของคนสามกลุ่มอายุในภาษาบีซู

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรเสียงพยัญชนะของคนสามกลุ่มอายุในภาษาบีซู การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้รายการหน่วยอรรถจำนวน 500 หน่วยอรรถ สอบถามผู้บอกภาษาจำนวน 15 คน จำแนกออกเป็นกลุ่มอายุที่ 1 (อายุ 55 ปีขึ้นไป) กลุ่มอายุที่ 2 (อายุ 35-45 ปี) และกลุ่มอายุที่ 3 (อายุ 18-25 ปี) ผลการวิจัยพบว...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อภิชาติ ผาแดง, มยุรี ถาวรพัฒน์, Apichat Phadaeng, Mayuree Thawornpat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/60832
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรเสียงพยัญชนะของคนสามกลุ่มอายุในภาษาบีซู การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยใช้รายการหน่วยอรรถจำนวน 500 หน่วยอรรถ สอบถามผู้บอกภาษาจำนวน 15 คน จำแนกออกเป็นกลุ่มอายุที่ 1 (อายุ 55 ปีขึ้นไป) กลุ่มอายุที่ 2 (อายุ 35-45 ปี) และกลุ่มอายุที่ 3 (อายุ 18-25 ปี) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการแปรเสียงเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ได้แก่ ธรรมชาติของภาษาหรือการสัมผัสภาษา เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวมีการแปรทั้งหมด 20 หน่วยเสียง ส่วนใหญ่เป็นการแปรที่เกิดจากการทำให้การออกเสียงสะดวกขึ้น การแปรที่โดดเด่นที่สุดคือ การกลมกลืนเสียงของพยัญชนะ พบมากที่สุดในผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 3 อีกทั้งยังพบการละเสียงพยัญชนะควบเสียงที่สองในพยางค์หลักและพยางค์รอง การกลายเสียงจากพยัญชนะต้นควบไปเป็นเสียงสระของผู้บอกภาษากลุ่มอายุที่ 2 และ 3 รวมถึงการแทรกเสียงพยัญชนะท้ายในคำพยางค์เปิด