สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา 6 ด้าน คือ1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการเรียนการสอน 4) ด้านการให้บริการผู้เรียน 5) ด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน และ 6) ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน และเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อม ตามระดับการรับรู...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ภัทรานิษฐ สงประชา, ภัทรพล มหาขันธ์, ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, Pattranit Songpracha, Pattarapon Maharka, Teerasak Srisurakul
Other Authors: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต. สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/61270
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา 6 ด้าน คือ1) ด้านอาคารสถานที่ 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการเรียนการสอน 4) ด้านการให้บริการผู้เรียน 5) ด้านการจัดกิจกรรมผู้เรียน และ 6) ด้านสังคมกลุ่มเพื่อน และเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อม ตามระดับการรับรู้ของครูและนักเรียน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ที่ได้บูรณาการวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากครูและนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 381 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย (x ?) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในโรงเรียนโสตศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพแวดล้อมด้านกิจกรรมผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของระดับการรับรู้มากที่สุด ส่วนด้านสังคมและกลุ่มเพื่อน มีค่าเฉลี่ยของระดับการรับรู้น้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพแวดล้อมด้านสังคมกลุ่มเพื่อน มีระดับการรับรู้ของครูและนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05