โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่มวนเองของผู้หญิง อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่มวนเองของผู้หญิง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มทดลองมี จำนวน 24 คน กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมสุขศึกษา 4 ครั้ง ระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่ม...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุนารี ทะน๊ะเป็ก, มณฑา เก่งการพานิช, สุปรียา ตันสกุล, ธราดล เก่งการพานิช, Sunaree Tanapek, Mondha Kengganpanich, Supreya Tansakul, Tharadol Kengganpanich
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/61918
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรง สนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่มวนเองของผู้หญิง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย กลุ่มทดลองมี จำนวน 24 คน กลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมสุขศึกษา 4 ครั้ง ระยะเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับคำแนะนำจากบริการทางสาธารณสุขตามปกติ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Student’s t-test, Paired t-test ผลการทดลอง พบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับ ผลเสียของการสูบบุหรี่มวนเอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่มวนเองและพฤติกรรมการเลิก สูบบุหรี่มวนเองดีกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระยะติดตามผลพบผู้เลิก สูบบุหรี่ในกลุ่มทดลองถึงร้อยละ 33.3 ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบมีผู้เลิกสูบบุหรี่มวนเองเพียงร้อยละ 13.3 ในช่วง หลังการทดลองและระยะติดตามผลมีการรับรู้ความรุนแรงของการสูบบุหรี่มวนเองและการรับรู้ความสามารถของ ตนเองในการเลิกสูบบุหรี่มวนเองของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่ม เปรียบเทียบพบความแตกต่างกันเฉพาะในช่วงหลังการทดลอง ไม่พบความแตกต่างในระยะติดตามผล และพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในผลของการเลิกสูบบุหรี่มวนเอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบทั้งในช่วง หลังการทดลองและระยะติดตามผล