ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของนักศึกษาพยาบาลฟลังการเรียนรู้ด้วยการใช้สถาการณ์จำลองเสมือนจริง

ในปัจจุบันรูปแบบการศึกษาทางการพยาบาลถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในเรื่องของ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านความ พึงพอใจและความมั่นใจในตนเองใน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ดวงฤทัย บัวด้วง, จำปี เกรนเจอร์, จิราภรณ์ ปั้นอยู่, จงใจ จงอร่ามเรือง, Dongruethai Buadong, Jumped Granger, Jiraporn Punyoo, Jongjai Jongaramraung
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี
Format: Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62043
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:ในปัจจุบันรูปแบบการศึกษาทางการพยาบาลถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในเรื่องของ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านความ พึงพอใจและความมั่นใจในตนเองในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีสภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยวิธีการสอนโดยใช้ สถานการณ์ จำลองเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนการ สอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง การวิจัยเชิงปริมาณคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 55 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมููล ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจและความมั่นใจ ในตนเองหลังผ่านการเรียนรู้ด้วยการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย โปรแกรมสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุุณภาพ ผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์์เชิงเนื้อหา ผล การศึกษาพบว่าภายหลังการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะ หัวใจล้มเหลว นักศึกษาพยาบาลมีความพึงพอใจและมีความมั่่นใจในตนเองในระดับมากและมากที่สุุด ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนการสอนด้วยการใช้สถานการณ์จำลอง เสมือนจริง และตื่นเต้นที่ได้เรียนรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีอาการซับซ้อน ได้้ฝึกการนำความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ดังนั้นจึงควรพิจารณาใช้ การเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ จำลองเสมือนจริงในการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลต่่อไป