Cyberbullying ความหมาย และการทบทวนแนวคิด ภายใต้บริบทของสังคมไทย
งานศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความหมาย และลักษณะของการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันซึ่งมักมีการกล่าวถึงเมื่อการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การดูหมิ่น ก...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62127 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | งานศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงความหมาย และลักษณะของการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันซึ่งมักมีการกล่าวถึงเมื่อการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การดูหมิ่น การหมิ่นประมาท การคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงคำพูดที่เป็นการแสดงความเกลียดชัง การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาจากเอกสารและการทบทวนวรรณกรรมเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าคำจำกัดความของคำว่าการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์และองค์ประกอบของการกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์ในประเทศไทยจำเป็นต้องได้รับการทบทวน เนื่องจากบริบทของสังคมไทยที่มีความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะสังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถนำคำสามัญที่พบเห็นได้ทั่วไปมาใช้ในความหมายของการกลั่นแกล้งรังแกบนพื้นที่ไซเบอร์ รวมถึงคนไทยบางส่วนยังใช้การกลั่นแกล้งรังแกกันบนพื้นที่ไซเบอร์เป็นเครื่องมือในการสร้างมิตรภาพในหมู่เพื่อน นอกจากนี้งานศึกษาในครั้งนี้ยังพบความแตกต่างระหว่างการกลั่นแกล้งกันบนพื้นที่ไซเบอร์กับการคุกคามบนอินเทอร์เน็ต โดยผู้ศึกษาเห็นว่าการกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่นบนพื้นทีไซเบอร์คือการกระทำใด ๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ไซเบอร์และนำไปสู่การทำร้ายความรู้สึกสร้างความอับอาย ความเจ็บปวด ความรู้สึกต่ำต้อยสูญเสียความมั่นใจ หรือความทุกข์ทรมานทางจิตใจของเหยื่อ ขณะที่การคุกคามทางอินเทอร์เน็ตคือการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ไซเบอร์ละนำไปสู่ความรู้สึกหวาดกลัว รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือสร้างความหมวดระแวงให้กับตัวผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ซึ่งส่งผลให้การกำหนดมาตรการในการลดหรือป้องกันปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมทั้งสองประเภทนี้แตกต่างกันออกไปด้วย |
---|