พฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรังอายุต่ำกว่า 5 ปี
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลในการให้การดูแลเด็กป่วยด้วยโรค เรื้อรังที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และปัจจัยที่กำหนดของผู้ดูแลเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีอายุ ต่ำกว่า 5 ปี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในกา...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62867 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลในการให้การดูแลเด็กป่วยด้วยโรค
เรื้อรังที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และปัจจัยที่กำหนดของผู้ดูแลเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีอายุ
ต่ำกว่า 5 ปี ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์
ซึ่งผ่าน การพัฒนาและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นในระดับที่ยอมรับได้ เก็บรวบรวบข้อมูลโดย
การสัมภาษณ์ตัวอย่างเป็นรายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย สถิติไคสแควร์ และ ANOVA
ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีในเรื่องการติดตามการ
รักษา การให้ยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ/กระตุ้นพัฒนาการ และการดูแลด้านจิตใจ โดยภาพรวมผู้ดูแลส่วนใหญ่มี
ระดับการดูแลอยู่ในระดับพอใช้ร้อยละ 74.4 รองลงมาอยู่ในระดับดีร้อยละ 22.2 และระดับไม่ดีร้อยละ 3.4 ส่วน
ผลกระทบต่อผู้ดูแลในการให้การดูแลเด็กป่วยโรคเรื้อรังที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี นั้น มี 4 ด้านได้แก่ ด้านการงาน การเงิน
ความเป็นส่วนตัวและด้านจิตใจ โดยภาพรวมแล้วผู้ดูแลได้รับผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง สูง และต่ำ ร้อยละ
59.1, 31.8 และ 9.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ สถานะ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัว การรับรู้ความรุนแรงของโรคและการได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมมีความสัมพันธ์อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ กับพฤติกรรมการให้การดูแลเด็ก (p<0.05) ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อโรงพยาบาลและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการจัดบริการส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมการดูแลที่มีคุณภาพ ให้แก่ผู้ดูแลเด็ก
และการปรับปรุงสถานบริการได้ครบวงจรด้วย |
---|