ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชน

โรคมะเร็งทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจ การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการจัดการรายกรณีผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง ระยะสุดท้ายในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ โรคมะเร็งระยะท้ายที่มารับบริการในหน่วยบริการ พยาบาลผู้ป่วยที่บ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ภิญโญ อุทธิยา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, พัชราพร เกิดมงคล, พิชัย จันทร์ศรีวงศ์, Pinyo Utthiya, Kwanjai Amnatsatsue, Patcharaporn Kedmongkol, Phichai Chansriwong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63715
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:โรคมะเร็งทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจ การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ โปรแกรมการจัดการรายกรณีผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็ง ระยะสุดท้ายในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ โรคมะเร็งระยะท้ายที่มารับบริการในหน่วยบริการ พยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่าง กุมภาพันธ์-พฤษภาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 60 คน สุ่มเข้ากลุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ ประกอบด้วย การให้ ความรู้เกี่ยวกับโรค การฝึกทักษะการจัดการอาการ ไม่สุขสบายและการดูแลตนเอง การเยี่ยมบ้าน และ การโทรศัพท์ติดตาม กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาล ตามปกติ เปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิต และอาการ ไม่สุขสบาย ใช้สถิติ Pair T-test และ Independent T-test พบว่า หลังการทดลอง 1) กลุ่มทดลองมีคะแนน คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง ยกเว้น ด้านสังคม/ครอบครัว และด้านจิตใจ/อารมณ์สูงกว่า ก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.001) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนอาการ ไม่สุขสบายทั้ง 2 กลุ่มเพิ่มขึ้น แต่ไม่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่ม และ 3) กลุ่มทดลองมีอาการซึมเศร้า และวิตกกังวลลดลงและต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยนำมา พัฒนาการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งระยะท้าย ในชุมชน เพื่อคงคุณภาพชีวิตและลดอาการไม่สุขสบาย