ทัศนคติและความรู้เพศศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ของ ประเทศไทย การศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาในวัยรุ่นหญิง มีการศึกษาในเพศชายน้อยมาก งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมาย เพื่อศึกษาทัศนคติและความรู้เพศศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายวัยรุ่นในเขต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: พิชญา พจนโพธา, ศุภโชค สิงหกันต์, ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, สุพร อภินันทเวช, Pichaya Pojanapotha, Supachoke Singhakant, Titawee Kaewpornsawan, Suporn Apinuntavech
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
Format: Original Article
Language:Thai
Published: 2021
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63730
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ของ ประเทศไทย การศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาในวัยรุ่นหญิง มีการศึกษาในเพศชายน้อยมาก งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมาย เพื่อศึกษาทัศนคติและความรู้เพศศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชายวัยรุ่นในเขต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย มัธยมศึกษาตอนปลายหรืออาชีวศึกษาประกาศนียบัตร วิชาชีพในกรุงเทพมหานคร 1,459 คน ใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับทัศนคติ ความรู้เพศศึกษา และพฤติกรรม การมีเพศสัมพันธ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่ม ที่เคยและไม่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ค่า Odd Ratio พบว่า ทัศนคติที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ “การควบคุมตนเองไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ถือเป็นการให้เกียรติฝ่ายหญิงและครอบครัว” “เป็น ธรรมดาที่จะมีเพศสัมพันธ์กับกิ๊กแม้จะมีคนรักแล้ว” “ประสบการณ์เพศสัมพันธ์ทำให้รู้สึกเป็นที่ยอมรับของ เพื่อนมากขึ้น” “หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายหญิงที่ควรไปหาซื้อยา คุมกำเนิดฉุกเฉินมารับประทานในภายหลัง” “สมมติ มีบุตรในขณะนี้ ใครจะเป็นผู้เลี้ยงดูหลัก: บิดามารดา หรือญาติฝ่ายท่าน/ฝ่ายหญิง” ส่วนความรู้ที่สัมพันธ์ กับการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การช่วยตัวเอง และการ คุมกำเนิด โดยกลุ่มที่เคยมีเพศสัมพันธ์จะได้คะแนน น้อยกว่า แสดงให้เห็นว่า ค่านิยมเกี่ยวกับเพศวิถียัง เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์วัยรุ่น และความรู้ เพศศึกษาเป็นปัจจัยป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ