ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ภาวะแทรกซ้อนที่สำาคัญของโรคเบาหวานคือ แผลเรื้อรังที่เท้า การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัด ก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วย ตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ประยุกต์ทฤษีการรับรู้ ความสามารถของตนเองศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน จำานวน 32 ราย ที่มีแผลเท้าในร...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63741 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | ภาวะแทรกซ้อนที่สำาคัญของโรคเบาหวานคือ
แผลเรื้อรังที่เท้า การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัด
ก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม
ส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วย
ตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ประยุกต์ทฤษีการรับรู้
ความสามารถของตนเองศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน
จำานวน 32 ราย ที่มีแผลเท้าในระดับ 3 ณ คลินิก
เท้าเบาหวาน โรงพยาบาลกระทุ่มแบน แบ่งเป็นกลุ่ม
ทดลอง 17 ราย กลุ่มเปรียบเทียบ 15 ราย ใช้เวลา
การศึกษา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมกลุ่ม
4 ครั้ง และโทรศัพท์ติดตาม 4 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูล
ก่อน-หลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Chi-square Test, Independent T-test, Paired
Sample T-test, Wilcoxon Signed Ranks Test,
Mann-Whitney U Test, และ Z-test ภายหลัง
การทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้
ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลของ
การปฏิบัติ และการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลเท้าและ
แผลที่เท้าด้วยตนเองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี
นัยสำาคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่พบ
การเกิดแผลใหม่ และกลุ่มทดลองไม่พบการลุกลาม
ของแผล ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบร้อยละ 13.3
พบการลุกลามของแผล แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
(p = 0.12) ดังนั้นโปรแกรมจึงสามารถส่งเสริมพฤติกรรม
การดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองของผู้ป่วย
เบาหวานได้ |
---|