ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง: กรณีศึกษาในนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดกาญจนบุรี
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 345 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 4 ขั้นตอน (Four st...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2021
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/63764 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง
จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิง
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 345 คน
คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ 4 ขั้นตอน
(Four stages random sampling) รวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการ
ประเมินความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์
ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การจำแนก
พหุ (Multiple Classifi cation Analysis: MCA)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 98.0) และปัจจัย
ในแบบจำลองการวิเคราะห์ ได้แก่ ระดับชั้นที่กำลัง
ศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม บุคคลที่นักเรียนพักอาศัย
ระหว่างเรียน สถานภาพสมรสของพ่อ แม่ กิจกรรม
ที่ทำในเวลาว่าง ความภาคภูมิใจในตนเอง การเข้าถึง
สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การดูแลเอาใจใส่ของ
ผู้ปกครอง การสื่อสารเพื่อป้องกันการมีพฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศและอิทธิพลของเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยง
ทางเพศของนักเรียนหญิงกลุ่มตัวอย่างได้ ร้อยละ 20.2
(R2 = 0.202) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001
ปัจจัยที่มีความสำคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อิทธิพล
ของเพื่อน รองลงมาคือ ปัจจัยการเข้าถึงสื่อกระตุ้น
อารมณ์ทางเพศ การสื่อสารเพื่อป้องกันการมีพฤติกรรม
เสี่ยงทางเพศ สถานภาพสมรสของพ่อ แม่ และ
ระดับชั้นที่กำลังศึกษา ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความ
สำคัญของการนำเพื่อนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
เรียนรู้เรื่องเพศ และควรมีการพัฒนาทักษะชีวิตของ
นักเรียนในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์เสี่ยงตั้งแต่
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
---|