ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ การรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา การรับรู้ด้านผลที่ตามมา การรับรู้ด้านความสามารถในการควบคุม/รักษา การรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย และก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศศิธร พินพาท, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, ศรินรัตน์ ศรีประสงค์, ยงค์ รงค์รุ่งเรือง, Sasithorn Pinphat, Wimolrat Puwarawutipanich, Sarinrut Sriprasong, Yong Rongrungrueang
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64412
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ได้แก่ การรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา การรับรู้ด้านผลที่ตามมา การรับรู้ด้านความสามารถในการควบคุม/รักษา การรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย และการตอบสนองทางอารมณ์ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 123 ราย ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อมฉบับย่อ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วยฉบับย่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 66.52 ปี เป็นชายร้อยละ 51.2 ใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลเฉลี่ย 33 ชั่วโมง 50 นาที ปัจจัยที่ศึกษาสามารถร่วมกันทำนายระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลได้ร้อยละ 34.9 (R2 = .35) โดยการรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา และการรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย (สาเหตุที่สัมพันธ์กับโรคและไม่ทราบสาเหตุ) สามารถทำนายระยะเวลาในการตัดสินใจมาโรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ: การรับรู้ด้านลักษณะอาการ การรับรู้ด้านระยะเวลา การรับรู้ด้านสาเหตุของการเจ็บป่วย เป็นปัจจัยทำนายการตัดสินใจมาโรงพยาบาลได้ และเป็นประโยชน์กับพยาบาลและทีมสุขภาพในการพัฒนาโปรแกรม หรือเป็นแนวทางการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการติดตามเฝ้าระวังอาการ อาการแสดงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด นำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมในการมาโรงพยาบาล