อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ดัชนีมวลกาย ทัศนคติ และการสนับสนุนทางสังคมต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอด

วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ดัชนีมวลกาย ทัศนคติ การสนับสนุนทางสังคมต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่เข้ารับการตรวจหลังคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อรจิรา สัจธรรม, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, วรรณา พาหุวัฒนกร, พฤหัส จันทร์ประภาพ, Onjira Satjatam, Piyanun Limruangrong, Wanna Phahuwatanakorn, Pharuhas Chanprapaph
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2022
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/64416
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ดัชนีมวลกาย ทัศนคติ การสนับสนุนทางสังคมต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอด รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงทำนาย วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่เข้ารับการตรวจหลังคลอดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 2 แห่ง จำนวน 107 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากสมาชิกในครอบครัว และแบบสัมภาษณ์ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัย: อายุ การคลอดบุตร ดัชนีมวลกาย ทัศนคติ และการสนับสนุนทางสังคมจากสมาชิกในครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ได้ร้อยละ 14 (Nagelkerke R2 = .14) โดยมี 2 ปัจจัยที่สามารถทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (OR = .88, 95%CI = .80, .97, p < .05) และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (OR = 1.15, 95%CI = 1.02, 1.29, p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: อายุ และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มโอกาสของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ในมารดาหลังคลอดได้ จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรให้การพยาบาลด้วยความเอาใจใส่ และมีเวลาให้กับมารดาหลังคลอด โดยเฉพาะในมารดาที่มีอายุมาก และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาหลังคลอด